ปัจจุบันเราไม่มีทางจะแยกออกได้แน่ ว่าใครติดหรือไม่ติดเชื้อเอชไอวี หากเจ้าตัวไม่ได้บอกโดยตรง เพราะว่าสุขภาพของผู้ติดเชื้อเไอวีนั้น ก็ดีไม่ต่างกับบุคคลโดยทั่วไป เนื่องจากผู้ติดเชื้อเอชไอวี ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะสามารถเข้ารักษาได้ฟรีที่สถานพยาล โดยสิทธิที่เข้ารับการรักษาสามารถใช้ได้ทั้ง สิทธิประกันสังคม สิทธิข้าราชการ หรือสิทธิบัตรทอง ถ้าหากผู้ติดเชื้อเไอวี เข้ารับการรักษาได้ทันเวลา และปฏิบัติตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ก็จะไม่แสดงอาการอะไรออกมา
การดูแลตัวเองเมื่อติดเชื้อ HIV ควรทำความเข้าใจว่ามันเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากเป็น เพราะรักษาไม่หายขาด และทำให้โอกาสในการทำบางสิ่ง บางอย่างขาดหายไป ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะของตนเอง และศึกษาวิธีการดูแลรักษาตนเองอย่างเหมาะสม
โดยสิ่งที่คุณควรทำอย่างแรก และทำให้ไวที่สุด คือ เข้าสู่ระบบ การรักษาก่อนเลย เพื่อขอคำแนะนำ ในการใช้ชีวิต สิทธิของคุณในด้านต่าง ๆ รับยาต้านไวรัส มาทานเพื่อยับยั้ง การเพิ่มจำนวน และแพร่กระจายของเชื้อ เพื่อไม่ให้ ร่างกายได้รับความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อ ลุกลามไปสู่ภาวะโรคเอดส์ ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไวี ที่เป็นอันตรายต่อชีวิต
ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรดูแลตนเองอย่างไรไม่ให้ไปสู่ภาวะเอดส์ ?
บอกคนรอบข้างว่าตนเองเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี
การเปิดเผยตนเองอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัดใจ แต่การบอกให้ครอบครัว เพื่อน บุคคลใกล้ชิด หรือคู่นอนทราบว่าตนเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะทั้งตนเองและคนรอบข้างจะได้เตรียมรับมือและปฏิบัติตัวตามข้อควรระวังหรือขั้นตอนต่าง ๆ ในการดูแลและอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อได้อย่างเหมาะสมปลอดภัย
ทานยาต้านไวรัส หรือทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดตรงเวลา
การรักษาเป็นสิ่งที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ควรดำเนินการทันทีเมื่อทราบ สถานะเลือดของตน และโดยส่วนใหญ่แล้ว การรักษาจะเป็นยาต้านไวรัสที่แพทย์แนะนำให้ทาน ซึ่งควรจะทานให้ตรงตามวัน และเวลาที่แพทย์สั่ง เพราะยาอาจช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อเอชไอวี หรือยับยั้งไม่ให้ เพิ่มจำนวนขึ้น เพื่อให้ร่างกายของผู้ติดเชื้อ ไม่ถูกเชื้อเอชไอวีเหล่านี้ทำลายจนอาจเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อน หรือติดเชื้อโรคฉวยโอกาส จนเกิดภาวะเอดส์ในที่สุดซึ่งมักจะเกิดขึ้นบ่อย และรุนแรงในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่มีระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง หรือบกพร่อง และเพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อเอชไอวีสู่ผู้อื่นได้ด้วย
นอกจากนี้ผู้ติดเชื้อเไอวีเองก็ควรมาพบแพทย์ เพื่อติดตามผลการรักษา ของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แพทย์ประเมินอาการ และเฝ้าระวัง ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น จากการใช้ยาได้ โดยแพทย์อาจตรวจเลือด เพื่อติดตามปริมาณเชื้อเอชไอวี ในร่างกาย
การป้องกันตนเองจากการติดเชื้ออื่น ๆ เพิ่มเติม
เช่น ควรหมั่นดูแลรักษาสุขภาพปาก และฟันหลังจากที่รับประทานอาหารทุกครั้ง โดยการกลั้วคอ และบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ การรักษาโรคเหงือก และฟันที่เป็นอยู่ ควรไปตรวจสุขภาพช่องปาก กับทันตแพทย์ปีละครั้ง
และไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ ไม่ควรอยู่ใกล้ผู้ป่วยโรคอื่น ๆ เพราะผู้ติดเชื้อเอชไอวี จะมีภูมิต้านทานที่ต่ำกว่าคนปกติ จึงอาจทำให้เกิดการติดเชื้อโรคอื่น ๆ ได้ง่าย
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สุก สะอาด
คือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีต้องระวังเรื่องโรคฉวยโอกาส โดยอาหารก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคได้ ดังนั้น การระมัดระวังในการเลือกทานอาหาร ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคฉวยโอกาสได้ เช่น ผัก ผลไม้ พืชตระกูลถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี และแหล่งโปรตีนที่มีไขมันต่ำ เป็นต้น เพราะการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อาจช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรง เป็นผลดีต่อการรักษาด้วยยา ลดความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียงและอาการต่าง ๆ ของโรค ซึ่งช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับโรคได้ดียิ่งขึ้นด้วย
ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
การออกกำลังกายจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง ส่งเสริมสุขภาพจิตและบุคลิกภาพที่ดีแล้ว ยังมีงานวิจัยที่พบว่าการออกกำลังกายอาจช่วยกระตุ้นให้ระบบการเผาผลาญอาหารของผู้ติดเชื้อเอชไอวีทำงานได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย และยังลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง ซึ่งพบได้มากขึ้นเมื่อติดเชื้อเอชไอวี และความเสี่ยงเป็นโรคฉวยโอกาสได้ด้วย
ดูแลสุขภาพจิต
เป็นเรื่องปกติที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี จะมีความวิตกกังวล รู้สึกเครียด ซึมเศร้า เป็นอย่างมาก โดยการหาเพื่อนที่เข้าใจคุณ ไว้คอยพูด บอกความรู้สึก ปรึกษา ขอคำแนะนำ และให้กำลัง ซึ่งถ้าหากลองแล้วยังรู้สึกไม่ดีขึ้นเลย หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา รวมถึงเข้าร่วมกลุ่มพูดคุยให้คำปรึกษาต่าง ๆ ในท้องถิ่นหรือตามสังคมออนไลน์ เพื่อรับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ คลายความกังวล และเสริมสร้างกำลังใจจากผู้ที่เห็นอกเห็นใจหรือมีประสบการณ์เดียวกัน ซึ่งผู้ป่วยสามารถสอบถามข้อมูลด้านนี้เพิ่มเติมได้จากสถานพยาบาลผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วไป เพื่อรับคำแนะนำอย่างถูกต้อง พร้อมทั้งรักษาอย่างถูกวิธีเพื่อให้จิตใจที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีอาจดูแลสุขภาพจิตได้โดยการทำจิตใจให้สงบ เช่น การนั่งสมาธิ หรือทำสมาธิจินตนาการถึงสิ่งที่ทำให้รู้สึกสงบ สบาย จนลืมเรื่องกังวลใจ เป็นต้น ก็เป็นอีกทางเลือกที่จะผู้ติดเชื้อสามารถทำได้
งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีการสูบบุหรี่
ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีแนวโน้มได้รับผลข้างเคียงต่าง ๆ จากการสูบบุหรี่มากกว่าคนทั่วไป อีกทั้งบุหรี่ยังเพิ่มความเสี่ยง และก่อให้เกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคปอด และปอดติดเชื้อ เป็นต้น ซึ่งความเป็นจริงแล้วผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรจะมีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ
เลิกใช้ยาเสพติด
การใช้ยาเสพติด เช่น โคเคน เฮโรอีน หรือยาบ้า อาจทำให้อาการต่าง ๆ ของผู้ป่วยแย่ลงได้ และเพิ่มความเสี่ยงที่จะรับประทานยาไม่ตรงเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสพยา ด้วยการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่นอาจทำให้เสี่ยงติดเชื้อต่าง ๆ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ ที่อาจทำให้เชื้อเอชไอวีในร่างกายเจริญเติบโตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
แต่หากเลิกเสพยาด้วยตนเองไม่ได้ ควรไปปรึกษาแพทย์ หรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบำบัดรักษาและเลิกใช้ยาเสพติด
ป้องกันตนเองจากการติดเชื้ออื่น ๆ เพิ่มเติม
หมั่นรักษาสุขภาพปากและฟันหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง โดยควรกลั้วคอและบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ รักษาโรคเหงือกและฟันที่เป็นอยู่ ตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์ปีละครั้ง ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ และไม่อยู่ใกล้ผู้ป่วยโรคอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยวัณโรคที่ปอด เพราะผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีภูมิต้านทานโรคต่ำกว่าคนปกติ จึงอาจทำให้ติดโรคได้ง่าย
ระมัดระวังตัวเองไม่ให้เกิดการติดเชื้อเพิ่ม หรือป้องกันตนเองจากการติดเชื้อซ้ำ
เชื้อเอชไอวีสามารถแพร่กระจายผ่านทางของเหลวต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่น ของเหลวจากช่องทวารหนัก ของเหลวจากช่องคลอด และน้ำนม เป็นต้น
ถึงแม้จะเป็นผู้ป่วยเอชไอวีก็สามารถมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนของคุณได้ไม่ว่าคู่ของคุณจะเป็นผู้ป่วยด้วยหรือไม่ โดยต้องมีปัจจัยต่อไปนี้ คือ ป้องกันสวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง รับประทานยาต้านไวรัสมาตลอดเป็นประจำ สม่ำเสมอ หากไม่มีปัจจัยดังที่กล่าวมา ก็อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำซ้อน เกิดการดื้อยาได้
ลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อเอชไอวีสู่ผู้อื่น
ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ให้คู่นอนไปตรวจเลือด และผู้ป่วยต้องรับประทานยาต้านเชื้อเอชไอวีอยู่เสมอ
นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจต้องดูแลตนเองเพิ่มเติม หากมีอาการป่วยอื่น ๆ เกิดขึ้น เช่น
- คลื่นไส้อาเจียน ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง อาจรับประทานขิงหรือน้ำขิงเพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน แต่ควรงดบริโภคของทอด ของมัน และอาหารที่มีรสเค็มหรือเปรี้ยว เพื่อลดการอาเจียน
- น้ำหนักลด ผู้ป่วยควรดื่มน้ำปริมาณมาก และบริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์และแป้งเพิ่ม โดยควรงดอาหารประเภทไขมัน เพราะร่างกายย่อยและดูดซึมอาหารประเภทนี้ได้ยาก
- เบื่ออาหาร ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นแรงหรือมีกลิ่นฉุน
- มีแผลในปาก ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่เป็นของเหลว เคี้ยวกลืนได้ง่าย และให้พลังงานสูง แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่กรอบ แข็ง และมีรสจัด
ตั้งครรภ์ หรือคลอดบุตรขณะติดเชื้อเอชไอวี ควรดูแลตนเองอย่างไร ?
ในปัจจุบันมีวิธีป้องกันเชื้อเอชไอวีจากมารดาไม่ให้ส่งผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้ ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาขณะตั้งครรภ์ ทารกที่คลอดออกมาอาจมีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้ถึง 1 ใน 4 ราย ส่วนผู้ที่คลอดบุตรขณะติดเชื้อเอชไอวี อาจเสี่ยงส่งต่อเชื้อเอชไอวีผ่านทางน้ำนมไปสู่ทารกได้ได้เช่นกัน
แนะนำให้มารดาผู้ติดเชื้อเอชไอวีดูแลความปลอดภัยของตนเอง และทารกในครรภ์ตามแนวทางป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก ดังต่อไปนี้
- รับประทานยาต้านไวรัสอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เชื้อไวรัสเอชไอวีในร่างกายผู้เป็นแม่มีจำนวนน้อยที่สุด
ติดตามการรักษา เพราะแพทย์อาจต้องตรวจนับจำนวนไวรัส และดูการตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วย เพื่อปรับยาต้านไวรัสให้เหมาะสม
- รับคำแนะนำจากสูติแพทย์เกี่ยวกับวิธีการคลอด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก เช่น ผ่าท้องคลอดแทนการคลอดตามธรรมชาติ เพราะอาจลดความเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวีในทารกขณะคลอดได้ เป็นต้น
- งดให้นมลูก โดยให้ลูกบริโภคนมผงแทนนมแม่หลังคลอด และให้เด็กรับยาต้านเชื้อไวรัสจนกว่าจะยืนยันผลตรวจเลือดจากแพทย์ว่ามีการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่หรือไม่
ข้อจำกัดของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
นอกจากแนวทางปฏิบัติข้างต้น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีอาจไม่สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้ ดังต่อไปนี้
- บริจาคโลหิต หรือบริจาคร่างกาย
- รับราชการทหาร
- เข้าทำงาน พักอาศัย หรือท่องเที่ยวในบางประเทศ เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และโอมาน เป็นต้น
- ทำประกันชีวิต แต่เงื่อนไขบางประการอาจแตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของแต่ละบริษัท
การดูแลตัวเองเมื่อติดเชื้อเอชไอวี จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น การติดเชื้อเอชไอวีไม่ได้น่ากลัว หรือน่ารังเกียจอย่างที่ใครหลาย ๆ คนคิด เพราะผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี จำเป็นต้องได้รับกำลังใจในการต่อสู้กับโรคซึ่ง
นอกจากร่างกาย จะต้องแข็งแรงแล้ว จิตใจก็ต้องเข้มแข็ง แข็งแรงด้วย ฉะนั้นหากเราไม่เข้าใจว่า โรคของเขาคืออะไร ก็เพียงแค่ระมัดระวังตัวเอง ไม่ใช่รังเกียจ
ดังนั้น สิ่งที่ควรจะทำ คือ สนับสนุนและให้กำลังใจกับพวกเขา เพื่อให้มีกำลังใจในการต่อสู้กับโรคร้ายนี้ไปให้ได้ หากมีความกังวล ว่าตนเองมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีก็ควรทำการตรวจตรวจเลือด เพราะหากรู้ผลตรวจเลือดตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะเข้ารับการรักษา และเตรียมรับมือได้ทัน ทั้งนี้ก็ควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพควบคู่ไปด้วย เพื่อจะได้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงยิ่งขึ้น
อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม
ยาต้านหรือยารักษาเอชไอวี คืออะไร
ตรวจเอชไอวีไม่เจอ เกิดขึ้นจากอะไร
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :
- การดูแลตัวเองของผู้ป่วยติดเชื้อ HIV http://www.ananhosp.go.th/สาระน่ารู้/การดูแลตัวเองของผู้ป่วยติดเชื้อ%20HIV/การดูแลตัวเองของผู้ป่วยติดเชื้อ%20HIV.html
- การดูแลตัวเองเมื่อติดเชื้อ HIV https://www.thaihivtest.com/การดูแลตัวเองติดเชื้อ-hiv/
- การดูแลตัวเองของผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ไม่ให้ไปสู่ภาวะเอดส์ https://www.pobpad.com/การดูแลตัวเองของผู้ป่ว
- การดูแลตัวเองเมื่อติดเชื้อ HIV ควรเริ่มต้นอย่างไร ? https://www.ชุดตรวจเอชไอวี.com/ดูแลตัวเองติดเชื้อ-hiv/