หนองใน ต้องรักษา ห้ามปล่อยทิ้งไว้

Photo of author

By adminteam

หนองใน (Gonorrhoea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “ไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria gonorrhoeae)” โดยพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อหนองในมีหลายรูปแบบ เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยแตก รั่ว รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องปาก ช่องคลอด และทวารหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้น

หนองใน มีกี่ประเภท ?

หนองในสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ หนองในแท้ และหนองในเทียม

  • หนองในแท้ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Neisseria gonorrhoeae หนองในประเภทนี้จะมีระยะการฟักตัวของเชื้อแบคทีเรียประมาณ 1-10 วัน
  • หนองในเทียม เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Chlamydia trachomatis หนองในประเภทนี้ จะไม่ค่อยแสดงอาการที่ชัดเจน และมีระยะการฟักตัวของเชื้อแบคทีเรียนานกว่า 10 วันขึ้นไป

อาการหนองใน ที่สังเกตได้ง่าย

อาการหนองในผู้ชาย

ผู้ชายที่เป็นหนองใน จะมีอาการปัสสาวะขัดอย่างรุนแรง และมีหนองสีเหลืองข้น ไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ มักเกิดอาการหลังรับเชื้อไปแล้ว 2-5 วัน ถ้าไม่รักษาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ลุกลามไปยังต่อมลูกหมาก ทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบ อัณฑะอักเสบ ฯลฯ ซึ่งทำให้เป็นหมันได้

อาการหนองในผู้หญิง

ผู้หญิงที่เป็นหนองใน จะมีอาการตกขาว มีกลิ่นเหม็น ปัสสาวะแสบขัด เพราะเกิดการอักเสบที่ท่อปัสสาวะ และปากมดลูก ถ้าไม่รีบรักษาเชื้อจะลุกลาม ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ต่อมบาร์โธลินอักเสบ เป็นฝีบวมโต การอักเสบในอุ้งเชิงกราน ปีกมดลูกอักเสบ การอุดตันของท่อรังไข่ ซึ่งทำให้เป็นหมันหรือตั้งครรภ์นอกมดลูกได้

หนองใน ติดต่อกันได้อย่างไร

หนองในติดต่อกันได้อย่างไร ?

หนองในสามารถติดต่อกันได้จากบุคคลสู่อีกบุคคล จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย หรือการสัมผัสสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ที่มีเชื้อหนองใน ไม่ว่าจะเป็นทางปาก ทางช่องคลอด หรือทางทวารหนัก รวมทั้งหากมีการร่วมเพศทางปาก ก็อาจทำให้ติดโรคที่ลำคอได้

**การจับมือ การใช้สระว่ายน้ำร่วมกัน หรือการใช้ห้องน้ำร่วมกัน ไม่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อหนองในได้**

ภาวะแทรกซ้อนของหนองใน

หากไม่ได้รับการรักษา หนองในในฝ่ายชายอาจทำให้มีหนองไหลต่อเนื่อง 3-4 เดือน และเชื้ออาจลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียง ส่งผลให้ท่อปัสสาวะอักเสบจนเกิดการตีบตัน ต่อมลูกหมากอักเสบ หรือเกิดฝีที่ผนังท่อปัสสาวะ บางรายอาจเกิดการอักเสบของอัณฑะและท่อนำอสุจิ ซึ่งอาจทำให้มีบุตรยากหรือเป็นหมันได้ สำหรับฝ่ายหญิง เชื้อหนองในอาจลุกลามไปยังต่อมบาร์โทลินที่แคมใหญ่ ทำให้เกิดการอักเสบหรือฝีบวมโต รวมถึงอาจทำให้เยื่อบุมดลูกหรือปีกมดลูกอักเสบ ซึ่งหากเกิดการอักเสบอย่างรุนแรง อาจทำให้ท่อรังไข่ตีบตัน กลายเป็นหมัน หรือเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้.

หนองในป้องกันได้อย่างไร ?

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคหนองใน
  • งดการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ป่วยโรคหนองใน
  • ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
หนองใน รักษาอย่างไร

หนองใน รักษาอย่างไร ?

การรักษาหนองใน รักษาได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าร้อยละ 95 ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาให้เร็วที่สุด เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา ในกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนแล้ว เช่น อุ้งเชิงกรานอักเสบ ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ภาวะมีบุตรยาก เป็นต้น ท่านอาจจะต้องนอนรับการรักษาในโรงพยาบาล

ทั้งนี้ การรักษาหนองในจะได้ผลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยที่จะต้องรับประทานยาให้ครบตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้เมื่อหายแล้ว ยังควรกลับไปตรวจซ้ำตามแพทย์นัด จนกว่าจะแน่ใจว่าหายสนิท

หนองใน หายเองไหม หากไม่รักษา ?

ผู้ป่วยที่เป็นหนองในบางรายอาจมีอาการดีขึ้นเอง แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด ดังนั้นเมื่อเป็นหนองในจึงควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์จะดีที่สุด เพราะหนองในสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ หากไม่รักษา แล้วไปแพร่เชื้อให้คู่นอน อาการหนองในก็จะกลับมาเป็นได้อีก และมีโอกาสที่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

อ่านบทความอื่นที่เกี่ยวข้อง